07 สิงหาคม 2562

ฟอนต์ไทยที่รวบรวมมาได้

ฟอนต์ไทยที่รวบรวมมาได้..ลองโหลดกันไปใช้ดูครับผม

Copy ลิงค์วางใน เว็บเบราว์เซอร์ กดโหลดได้เลยครับ

https://mega.nz/#!d7IlHIaD!5yJP0GnTlT_bdraN_Nt2DcPxSyFzY3GaY52Ss7tqmfw

ฝากติดตามกันด้วยนะครับ

1.https://www.pinterest.com/bobbytinnakon/boards/
2.https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=3115732039588247732#allposts
3.https://twitter.com/?lang=th
4.https://www.youtube.com/channel/UC2lVrgkm3EQIiQKLB7Sa_IQ/videos?view_as=subscriber
5.https://www.instagram.com/bob.special/
6.https://line.me/ti/p/4QMcDcbMW8
7.http://bybobbie.lnwshop.com/
8.https://www.kaidee.com/member/listing/

WinRAR 5.71 [Full] ถาวร ไทย + 64bit รองรับ Win10 ตัวใหม่

WinRAR 5.71 [Full] ถาวร ไทย + 64bit รองรับ Win10 ตัวใหม่!

โหลด WinRAR 5.71 Final ตัวเต็ม ภาษาไทย 64 bit Windows 10 โปรแกรมบีบอัดไฟล์ที่ดีที่สุด One2up ล่าสุด 2019 | 3.8 MB

WinRAR 2019 คือ โปรแกรมบีบอัดไฟล์ที่สามารถจะทำการบีบอัด ไฟล์ บีบอัดข้อมูล ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย โดยเท่าที่ผมเคยเห็นมาสามารถบีบอัดไฟล์จาก 4 GB ให้เหลือเพียง 2 MB เลยทีเดียว มันน่าทึ่งมาก  เป็นโปรแกรมการจัดเก็บบีบอัดไฟล์ที่สามารถสร้างและขยายแตกไฟล์  WinRAR 5 ใช้กระบวนการ และเทคโนโลยีการบีบอัดไฟล์ ที่ดีที่สุด เพื่อให้คุณได้ไฟล์ขนาดเล็กที่สุด หลังการบีบอัด ประหยัดเนื้อที่ ประหยัดเวลาในการรับส่งไฟล์ โดยเวอร์ชั่นใหม่นี้ได้มีการเพิ่มรูปแบบการบีบอัดไฟล์ใหม่ที่ชื่อว่า RAR5 ซึ่งใครที่ใช้โปรแกรม WinRAR ในเวอร์ชั่นเก่าๆ (ต่ำกว่า 5) จะไม่สามารถแตกไฟล์ หรือคลายไฟล์ที่ถูกบีบอัดด้วย WinRAR 5 ได้
เตือน : พบช่องโหว่บน WinRAR ทุกเวอร์ชั่นที่รุ่นต่ำกว่า 5.71 ทำให้แฮกเกอร์เข้ามาติดตั้งมัลแวร์บนเครื่องได้ ดังนั้นให้รีบอัพเดท
คุณสมบัติของ WinRAR:
– การใช้ WinRAR ทำให้ไฟล์ถูกบีบอัดจึงขนาดเล็กลงมาก ทำให้ประหยัดพื้นที่ดิสก์และค่าใช้จ่ายในการส่งไฟล์
– WinRAR ให้การสนับสนุนที่สมบูรณ์แบบสำหรับ RAR และ ZIP สามารถที่จะแตกไฟล์ CAB, ARJ, LZH, TAR, GZ, ACE, UUE, BZ2, JAR, ISO, 7Z, Z
Copy ลิงค์วางใน เว็บเบราว์เซอร์ กดโหลดได้เลยครับ
https://mega.nz/#!gmIlUCCB!7XlbB1nSjK7A5UbdvrIY6UMsA1gbfB24rnGeMqbzzgA

TeraCopy Pro 3.26 [Full] ไทย พร้อมkey โปรแกรมก็อปไฟล์เร็ว


TeraCopy Pro 3.26 [Full] ไทย พร้อมkey โปรแกรมก็อปไฟล์เร็ว

 เป็นโปรแกรมที่ทำให้เราสามารถเคลื่อนย้ายไฟล์ได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะไฟล์ใหญ่ๆ TeraCopy  จะสามารถสังเกตความแตกต่างได้ค่อนข้างชัดเจน โดยมีคุณสมบัติของ TeraCopy ที่น่าสนใจดังนี้
– Copy ไฟล์ได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยใช้ Buffer จะช่วยลดเวลา Seek Time
– สามารถหยุดชั่วคราวแลัว Copy ต่อได้
– หากมี error เกิดขึ้น TeraCopy จะกลับมาลอง Copy อีกรอบเมื่อ Copy ไฟล์อื่นเสร็จแล้ว
– รองรับทุก Unicode
ระบบปฏิบัติการ : Windows Vista / 7 / Windows 8 and 8.1/ 10

Copy ลิงค์วางใน เว็บเบราว์เซอร์ กดโหลดได้เลยครับ

https://mega.nz/#F!Jq4mxSxR!VYNX4LGRbXmE1uW2lsJRMA

06 สิงหาคม 2562

เรื่องนี้เงียบหายไปสักพัก

จากกรณี Grab vs. วินมอเตอร์ไซค์ ว่าด้วยเรื่องของการ "ปรับตัว" ที่ควรจะเป็น จากมุมมองของผู้ใช้คนหนึ่ง :)

https://pantip.com/topic/37679861

10 นิสัยแย่ ๆของข้าราชการไทยที่ทำให้ประเทศไทย 4.0 ไม่เป็นจริง

10 นิสัยแย่ ๆของข้าราชการไทยที่ทำให้ประเทศไทย 4.0 ไม่เป็นจริง


ผมได้รับคำถามจากข้าราชการท่านหนึ่งว่า อะไรที่ทำให้ผมลาออกจากราชการในวัยเพียง 34 ปี เพื่อมาเป็นวิทยากรสอนคนทั้งประเทศ เป็น Edutainer คนแรกของประเทศไทย ผมขอโอกาสในการนำเสนอลักษณะนิสัยแย่ ๆ ของข้าราชการจากประสบการณ์รับราชการของตัวเอง และจากบทความของวิรัช วิรัชนิภาวรรณ เรื่องวิเคราะห์ลักษณะอุปนิสัยของข้าราชการไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการ ตลอดจน บทวิเคราะห์ต่าง ๆ ของผู้ทรงคุณวุฒินำมาสรุป เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาระบบราชการให้ดียิ่งขึ้น โดยมิได้มุ่งหมายมีเจตนาตำหนิข้าราชการคนหนึ่งคนใดหรือหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใด
          บทความนี้ขอเป็นดังกระจกสะท้อนการปฏิบัติราชการเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่กรเป็น Thailand 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และยกระดับประเทศไทยให้พ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ก้าวสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนสมดังเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ทั้งนี้ มิเพียงแต่ระบบราชการเท่านั้น ทุกภาคส่วนต้องมีการขับเคลื่อนบูรณาการการทำงานร่วมกันมากกว่าจะสมประโยชน์พวกพ้องระหว่างกัน
1. ฉันคือเจ้านายประชาชน
          ข้าราชการบางคนชอบเป็นผู้ออกคำสั่งหรือผู้ปกครองประชาชนและมีความคิดว่ารู้ดีกว่าประชาชน คือ รู้ดีว่าประชาชนมีความต้องการอะไรและสามารถเป็นผู้จัดหาให้ รวมทั้งชี้แนะให้ประชาชนปฏิบัติตามความต้องการของตนหรือของรัฐบาลเป็นหลักมากกว่าปฏิบัติงานความต้องการของประชาชนเป็นหลัก
          การปฏิบัติตัวของข้าราชการบางคนมิได้มีจิตสำนึกว่ามีหน้าที่รับใช้ประชาชน ไม่เห็นว่าประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ แต่กลับคิดว่าการที่ประชาชนมาติดต่อขอความช่วยเหลือเป็นการมารบกวน ดังนั้น การมาขอรับบริการจากหน่วยราชการจึงกลายเป็นการมาอ้อนวอน ขอร้อง และต้องมารับคำสั่งคำบงการของข้าราชการ ในบางครั้งถึงกับกล่าวกันว่า เมื่อประชาชนไปติดต่อราชการเหมือนกับการไปขอส่วนบุญจากทางราชการเลยทีเดียว
          การที่ข้าราชการทำตัวเป็นนายประชาชน เป็นผลเสียต่อการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง เพราะการพัฒนาประเทศเป็นงานที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลัก โดยข้าราชการเป็นผู้สนับสนุน ชี้แนะ ให้คำแนะนำตามความจำเป็นหรือในทางวิชาการเท่านั้น แต่เมื่อข้าราชการบางหน่วยงานเข้าไปทำตัวเป็นนายประชาชน ไปทำสิ่งต่าง ๆ ให้ ไปบงการออกคำสั่ง จึงเป็นการผิดหลักการพัฒนาโดยสิ้นเชิง ผลก็คือประชาชนจะไม่ให้ความร่วมมือ หรือจะให้ก็เฉพาะในช่วงแรกหรือเมื่อได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเท่านั้น เช่น ได้รับเบี้ยประชุม กินอาหารฟรี หรือรับแจกของ เป็นต้น

2. ตัวใครตัวมัน ตัวกูของกู
          ข้าราชการบางส่วนนิยม “ปัจเจกชนนิยม” คือ ไม่สนใจที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนาประเทศหรือปฏิรูประบบราชการพร้อมกับหน่วยงานอื่น ๆ ไม่ชอบประสานงาน ไม่นิยมการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันปฏิบัติงาน หากไม่มีผลประโยชน์ตอบแทน ชอบชิงดีชิงเด่นกันและเอาตัวรอด ใครหรือหน่วยงานใดดีกว่าเด่นกว่าจะอิจฉาริษยาและหาทางทำลายหรือสกัดกั้น รวมไปถึงการไม่ชอบประสานงาน ลักษณะนิสัยประการนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยหรือสังคมไทยมีโครงสร้างทางสังคมที่หละหลวม หรือโครงสร้างหลวม ๆ หรืออาจเรียกว่า โครงสร้างตามสบาย สืบต่อกันมาช้านานผลกระทบในแง่ลบของอุปนิสัยประการนี้คือ การพัฒนาประเทศรวมทั้งการปฏิรูประบบราชการจะเป็นไปคนละทิศคนละทาง ความสามัคคีระหว่างข้าราชการหรือระหว่างหน่วยราชการเกิดขึ้นได้อยาก แทนที่ “สามัคคีคือพลัง” กลับกลายเป็น “สามัคคีคือพัง” ขณะเดียวกัน การที่ข้าราชการมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ยิ่งส่งผลให้ข้าราชการรวมตัวกันไม่ติด หรือรวม “กลุ่ม” แล้วต้อง “กลุ้ม” ทุกครั้งไป สัมพันธภาพระหว่างข้าราชการจะไม่ตายตัวพร้อมที่จะเข้าเป็นสมัครพรรคพวกและเลิกราได้ตลอดเวลา อาจกล่าวได้ว่า สัมพันธภาพจะแปรไปตามผลประโยชน์ หรือ "ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร มีแต่ผลประโยชน์เท่านั้นที่ถาวรมั่นคง" ดังนั้น จึงเป็นผลร้ายต่อการพัฒนาประเทศซึ่งเน้นความสำคัญของการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่นและต่อเนื่องเพื่อปฏิบัติร่วมกัน
          นิสัยของข้าราชการประการนี้ครอบคลุมถึงการไม่ชอบประสานงานด้วย การประสานงานของข้าราชการ หมายถึงการร่วมมือกันปฏิบัติงานกับหน่วยราชการด้วยกันเองและกับหน่วยงานของภาคเอกชน สาเหตุของการไม่ประสานงานของข้าราชการ ส่วนหนึ่งมาจากค่านิยม ทัศนคติ หรืออุปนิสัยของข้าราชการที่มุ่งแสวงหาประโยชน์ให้ตนเองมากกว่าคิดถึงผลประโยชน์ของประชาชน การประสานงานอาจเป็นไปได้อย่างดีถ้าหน่วยราชการหรือข้าราชการในแต่ละหน่วยงานได้รับผลประโยชน์ตอบแทนมากเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นเงิน ชื่อเสียง หรือได้หน้า แต่ถ้าผลประโยชน์มีน้อย การประสานงานจะเกิดน้อยด้วย เข้าทำนอง "เงินไม่มา ทำไม่เป็น" หรือ “เงินดี งานเดิน เงินเกิน งานวิ่ง เงินนิ่ง งานหยุด” สำหรับข้ออ้างที่นำมาใช้คือ หน่วยงานของตนมีงานประจำล้นมือและมีกำลังเจ้าหน้าที่น้อย เป็นต้น
          การขาดการประสานงานของข้าราชการเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการอย่างมาก ด้วยเหตุที่การปฏิบัติงานพัฒนาประเทศต้องอาศัยความร่วมมือหลายหน่วยงาน แต่เมื่อหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการประสานงานกัน ต่างฝ่ายต่างทำ การพัฒนาประเทศยากที่จะประสบความสำเร็จ

3. ระบบอุปถัมภ์ค้ำชูประเทศไทย
          ข้าราชการบางคนนิยมชมชอบและนำระบบอุปถัมภ์มาใช้ ระบบนี้มีส่วนทำให้ข้าราชการมีพฤติกรรมไปในแนวทางที่มีข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย ผู้ใหญ่กับผู้น้อย ผู้นำกับผู้ตาม หรือผู้อุปถัมภ์กับผู้ถูกอุปถัมภ์ ชีวิตของข้าราชการชั้นผู้น้อยจะได้ดิบได้ดีหรือตกอับขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชาที่คอยปกปักรักษาคุ้มครองภัยต่าง ๆ ให้ ส่วนผู้ใหญ่จะได้แรงงานและการปรนนิบัติรับใช้จากผู้น้อยเป็นการตอบแทน เข้าทำนอง “ข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย” ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อยดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งบนลงล่าง อันเป็นการสั่งการบังคับกันตามลำดับขั้นโดยยึดถือพวกพ้องเป็นหลัก เข้าทำนอง “ค่าของคนมิได้อยู่ที่ผลของงาน” แต่ “ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร”
          ลักษณะนิสัยประการนี้ยังมีส่วนทำให้ข้าราชการขาดความรับผิดชอบ ขาดการเอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน ข้าราชการจะปฏิบัติงานให้ผ่านไปวัน ๆ ตามความพอใจของตน โครงการต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจะสำเร็จหรือล้มเหลว ไม่มีผลต่อหน้าที่มาก เพราะระบบการลงโทษและการให้คุณของทางราชการไม่จริงจัง มูลเหตุจูงใจข้าราชการไม่ได้อยู่ที่การทำงานให้สำเร็จ แต่กลับเป็นเรื่องของพวกพ้องและการวิ่งเต้น ลักษณะนิสัยนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการประสานงานและการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีมอีกด้วย

4.ถีบคนดีไปไกลตัว เอาคนชั่วมาใกล้ชิด
          การปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาในทางที่ถูกที่ควรและสุจริตนั้นเป็นสิ่งดี เพราะการแสดงถึงการรักและไม่ทอดทิ้งผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีขวัญกำลังใจ และผู้บังคับบัญชาได้รับการเคารพยกย่องมากขึ้น แต่การปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาในทางที่ผิดเป็นผลเสียมากกว่าผลดี โดยเฉพาะเป็นการช่วยเหลือคนผิดและในบางกรณีเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
          ลักษณะนิสัยของข้าราชการที่ปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาในทางที่ผิดนี้ ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากระบบอุปถัมภ์ โดยเฉพาะเมื่อข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีอุปนิสัยที่ชอบแสดงความยิ่งใหญ่ วางก้าม วางตัวเป็นผู้มีอำนาจมีอิทธิพลส่วนหนึ่งแสดงออกโดยสนับสนุนปกปักรักษาคุ้มครองข้าราชการชั้นผู้น้อย ส่วนข้าราชการชั้นผู้น้อยก็มีหน้าที่ติดสอยห้อยตาม คอยปรนนิบัติรับใช้เอาอกเอาใจข้าราชการชั้นผู้ใหญ่นั้น ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่ข้าราชการชั้นผู้น้อยกระทำความผิด จึงเป็นหน้าที่ของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่จะปกป้องให้
          หากข้าราชการชั้นผู้น้อยขัดใจข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ก็อาจถูกกลั่นแกล้งโดยพยายามค้นหากฎระเบียบมาใช้ลงโทษอย่างเข้มงวด เข้าทำนอง "ผิดกฎผิดระเบียบไม่เป็นไร แต่ถ้าผิดใจเปิดกฎ" การปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำความผิดนั้น แม้มองได้ว่าเป็นการสร้างความดีให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำความผิด แต่ก็ได้สร้างความเลวร้ายให้กับประเทศชาติอย่างมหาศาล การปกป้องมีหลายรูปแบบและเกิดขึ้นในหลายหน่วยงาน กรณีดังกล่าวเป็นที่มาของคำว่า "มวยล้ม ต้มคนดู"


5. ความยั่งยืนของแปลงผักชี
          ข้าราชการบางคนมีลักษณะนิสัยที่นิยมชมชอบกับการปฏิบัติงานอย่างฉาบฉวย ผิวเผิน และตบตาโดยไม่คำนึงถึงความคงทนถาวร แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้งานนั้นเสร็จทันการประกวด การมาตรวจงาน หรือการมาตรวจเยี่ยมของผู้มีอำนาจที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานนั้น ๆ ได้
          ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติงานแบบผักชีโรยหน้าจะเป็นข้าราชการในระดับหัวหน้าส่วนราชการ ส่วนผู้เสียผลประโยชน์คือ ประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์อย่างไม่เต็มที่จากการปฏิบัติงานจอมปลอมนั้นและเงินงบประมาณของชาติยังถูกผลาญไปเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย ที่แปลกมากคือ ประชาชนต่างรู้เห็นและเข้าใจพฤติกรรมเช่นนี้มาช้านาน แต่ทำไมข้าราชการระดับสูงจากส่วนกลางที่มาตรวจงานนั้นถึงไม่เข้าใจขบวนการผักชีโรยหน้านั้นและหาทางป้องกันอย่างจริงจัง หรือถ้ามองในด้านลบอาจเป็นเพราะตนเองได้เคยปฏิบัติมาเช่นเดียวกัน

6. ปัดความรับผิด ยึดติดแต่ความชอบ
          ลักษณะนิสัยชอบปัดความรับผิดชอบของข้าราชการสังเกตได้จากการวางอำนาจทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน และมีการโยนงานกันโดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ทำให้ชักช้า และเมื่อมีปัญหาอุปสรรคเกิดขึ้นจะหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ แต่น่าสังเกตว่า หากได้ผลดีจะมีหน่วยงานมากมายมาแย่งกันอ้างบุญคุณ ขอเข้ามามีส่วนด้วยหรือร่วมอ้างว่า งานสำเร็จได้เพราะตน ปรากฏการณ์เช่นนี้ฝังอยู่ในลักษณะนิสัยของข้าราชการตลอดมา
          ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บางคนที่มีเงินเดือนสูงความกล้าในการตัดสินใจจะลดลงตามลำดับ จะทำสิ่งใดก็คิดแล้วคิดอีก หรือโยนให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปเป็นผู้ตัดสินใจ เข้าทำนอง ไม่ต้องการเก็บ "เผือกร้อน" ไว้ในมือ เมื่อมีเหตุการณ์วิกฤตใดเกิดขึ้นในหน่วยงาน ถ้าสามารถปัดความรับผิดชอบได้จะรีบดำเนินการทันที หรือบ่อยครั้งได้หาทางออกด้วยการปัดความรับผิดชอบไปให้กลุ่มบุคคล โดยตั้ง"คณะกรรมการ" ให้ร่วมกันรับผิดชอบ เช่นนี้ เป็นความพยายามหลีกเลี่ยงให้ไกลจากความเสี่ยงทั้งปวงแล้ว เป็นการกระทำที่ไม่คุ้มกับเงินเดือนที่ได้รับ และยังไม่สนใจว่างานราชการจะล่าช้าเพียงใดการโยนกลองหรือการปัดความรับผิดชอบของข้าราชการส่งผลทำให้เกิดความล่าช้า เสียเวลา สร้างความรำคาญใจให้แก่ประชาชน และในบางครั้งทำให้ประชาชนไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้องกับทางราชการ
          สำหรับสาเหตุสำคัญของนิสัยการปัดความรับผิดชอบ เกิดจากการไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเองจึงโยนการตัดสินใจให้ผู้อื่น เกิดจากความเกียจคร้านของข้าราชการ การไม่กำหนดให้มี "เจ้าภาพ"หรือผู้รับผิดชอบที่เด่นชัด รวมตลอดไปถึงคำสั่งต่าง ๆ ที่ออกมาคลุมเครือไม่แน่นอนชัดเจน ไม่เพียงเท่านั้น ยังเกิดจากความต้องการรักษาตำแหน่งและผลประโยชน์ของตนเองให้คงอยู่ต่อไป ประกอบกับการที่มิใช่เป็นนักบริหารมืออาชีพ แต่เป็นเพียงนักบริหารมือสมัครเล่นที่รับราชการมานานและอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถเข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้มีแนวโน้มที่เห็นได้ในทุกหน่วยราชการ เป็นลักษณะของข้าราชการที่ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ดำรงตำแหน่งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล มิใช่เพื่อรับใช้ประชาชนหรือสร้างผลประโยชน์ให้ประชาชน ทั้งยังไม่คำนึงว่า "ความล่าช้า คือ ความอยุติธรรม" แต่จะอ้างเสมอว่า "เป็นเรื่องละเอียดอ่อน" หรือ "เพื่อให้เกิดความรอบคอบ"

7. ไม่ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ
          ข้าราชการบางคนพอใจความรู้ความสามารถเท่าที่มีอยู่ หรือแม้ไม่พอใจแต่ก็ไม่ต้องการที่จะเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ไม่อยากที่จะรับรู้หรือยอมรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความคิดที่ว่าถ้ามีความรู้เพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้ตนเองต้องมีงานและมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นด้วย จึงไม่ขวนขวายหาความรู้เพิ่ม การที่ข้าราชการไม่ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมย่อมส่งผลเสียต่อการพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะทำให้ข้าราชการขาดการพัฒนา ขาดคุณภาพ ไม่อาจรับเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ง่ายยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารหรือยุคแห่งการแข่งขัน การเพิ่มพูนความรู้ของข้าราชการเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นยิ่ง
          ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อข้าราชการก้าวขึ้นไปสู่ตำแหน่งบริหาร ย่อมบริหารงานโดยขาดความรู้ทางวิชาการ ขาดการคิดและวางแผน ปฏิบัติงาน และประเมินผลอย่างเป็นระบบ ขาดการนำข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ต่อต้านการรับเทคโนโลยีใหม่ ใช้ประสบการณ์ในการบริหารงานโดยละเลยที่จะนำวิชาการและข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยมาใช้ประโยชน์ สภาพเช่นนี้ ยิ่งเป็นผลเสียต่อการพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการมากขึ้น


8. บุญหนักศักดิ์ใหญ่
          ข้าราชการบางส่วนเป็นชนชั้นที่มีเชื้อสายของขุนนางเก่า และแต่เดิมถือกันว่าการรับราชการเป็นการรับใช้พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชการจึงมีฐานะทางสังคมสูง แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วข้าราชการจัดได้ว่าเป็นพวกชนชั้นปกครอง เพราะฉะนั้น ลักษณะอุปนิสัยหรือพฤติกรรมที่ข้าราชการไทยบางส่วนแสดงออกมาก็เป็นผลมาจากการนิยมชมชอบหรือสืบเชื้อสายมาจากขุนนางเก่า ตลอดจนยึดมั่นว่าตนเองเป็นชนชั้นปกครองดังกล่าว ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายคือ ข้าราชการระดับสูงพยายามทำตัวเป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่เพื่อให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยเห็นและให้สำนึกว่าเป็นคนต่ำต้อยวาสนาหรือเป็นคนละชั้นกัน ชอบวางตัววางฟอร์มจนเกินกว่าเหตุ ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ หรือสร้างขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ไม่เปิดโอกาสให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือประชาชนเข้าพบได้ง่าย เพื่อแสดงว่าตนเองนั้นใหญ่มาก มีความสำคัญมาก ผู้ใดจะขอเข้าพบต้องแจ้งชื่อ วัตถุประสงค์ และเวลาของการเข้าพบล่วงหน้าแก่สมุนหรือเลขาฯ หน้าห้องที่รู้เห็นเป็นใจและได้รับการฝึกฝนจนเชื่องมาแล้วอย่างดีในการสร้างเงื่อนไขของการขอเข้าพบดังกล่าว
          นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อำนาจในการออกคำสั่งและเสนอความคิดเห็นของระบบราชการไทยส่วนใหญ่มาจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายเดียว เปรียบได้กับน้ำตกที่มีกระแสน้ำไหลจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่างเท่านั้น เหล่านี้ยิ่งทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยเป็นฝ่ายที่ต้องเชื่อฟังและตกอยู่ในความเกรงกลัวตลอดเวลา หากไปขัดแย้งกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ความก้าวหน้าในชีวิตอนาคตจะไม่เกิดขึ้น เข้าทำนอง “เรือรั่ว เมียชั่ว นายชังเป็นอัปมงคล”
          ผลร้ายย่อมจะมาตกกับผู้ที่อยู่ส่วนล่างที่สุดของสังคม คือ ประชาชน ซึ่งจะเป็นผู้รับแรงกดดันจากการแสดงอำนาจบาตรใหญ่มากที่สุดและหนักที่สุด อันมีผลทำให้การพัฒนาประเทศแทนที่จะอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักประชาธิปไตย กลับกลายเป็นการ เข้ามาร่วมพัฒนาประเทศเพราะถูกกดดัน ถูกบังคับจากข้าราชการที่หลง ตัวเองว่าเป็นคนบุญหนักศักดิ์ใหญ่ หรือลืมรากของตัวเองและใช้อำนาจ อันมิชอบกับผู้อื่น ซึ่งในบางกรณีเปรียบได้กลับคำกล่าวที่ว่า “คางคกขึ้นวอ”   หรือ “วัวลืมตีน”ลักษณะอุปนิสัยประการนี้มีผลทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และปล่อยให้การตัดสินใจขึ้นอยู่กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แต่ฝ่ายเดียว เพราะหากไปขัดแย้งกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ความก้าวหน้าในราชการจะมีอุปสรรคได้

9. เกียจคร้าน
          ข้าราชการมีหน้าที่อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนอย่างเต็มความสามารถ เพราะกินเงินเดือนที่มาจากภาษีของประชาชน แต่ในสภาพความเป็นจริง ข้าราชการบางส่วนมีนิสัยที่ไม่ได้ใส่ใจในหน้าที่ประการนี้ เห็นได้จากการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยติดต่อกันมาช้านานความเกียจคร้านของข้าราชการบางคนเห็นได้จากการมาทำงานสายแต่กลับบ้านเร็ว ดังที่กล่าวกันว่า “มาอย่างไทย ไปอย่างฝรั่ง” อันหมายถึง ข้าราชการไทยมาทำงานอย่างคนไทย คือมาสาย ไม่ตรงเวลาเสมอ แต่พอถึงเวลาเลิกงานจะเลิกงานตรงเวลาอย่างฝรั่งต่างชาติบางชาติ หรือบางทีข้าราชการไทยเลิกงานก่อนเวลา
          ลักษณะนิสัยเกียจคร้านของข้าราชการไทย สังเกตได้จากการเริ่มปฏิบัติงานของข้าราชการจะไม่มีการเริ่มทำงานก่อนเวลาราชการอย่างเด็ดขาดจะปล่อยให้ประชาชนรอจนกว่าจะถึงเวลาเริ่มงาน เมื่อประชาชนสอบถามจะตอบว่า ยังไม่ถึงเวลา โดยไม่ยอมเสียเปรียบประชาชน ตรงกันข้าม ข้าราชการเลิกงานก่อนเวลาเสมอ คือหยุดทำงานเพื่อเตรียมตัวกลับบ้านนานเกินควร กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการเอาเปรียบประชาชน ยิ่งไปกว่านี้ การลงเวลาเพื่อเข้าหรือเลิกปฏิบัติงานจะมีน้อยคนมากที่ลงตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการสอนให้ข้าราชการโกหก
          ข้าราชการไทยส่วนใหญ่จะเป็น “ม้าตีนต้น” คือจะขยันมากในช่วงรับราชการครั้งแรก ซึ่งต้องมีช่วงของการทดลองปฏิบัติราชการ เช่น 6 เดือน หลังจากผ่านช่วงเวลาดังกล่าวและได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการโดยสมบูรณ์เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว “ลายเดิมก็จะออก” ลายยิ่งปรากฏชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อเข้ามาอยู่ในระบบราชการซึ่งเป็นระบบที่ช่วยเสริมส่งให้ข้าราชการขี้เกียจมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ถึงแม้ว่าข้าราชการทำงานหรือไม่ทำงาน ดังที่เรียกว่า “ความชั่วไม่มี ความดีไม่ปรากฏ” ก็จะได้รับครึ่งขั้นหรือหนึ่งขั้นเงินเดือนแน่นอนอยู่แล้ว แถมไม่ถูกไล่ออกได้ง่าย ๆ อีกด้วย ขณะเดียวกันการขึ้นเงินเดือนเลื่อนขั้นก็มิได้อยู่ที่ความสามารถ แต่อยู่ที่การประจบสอพลอหรือบางหน่วยงาน
          นอกจากนี้แล้ว ระบบราชการที่ “ไล่ออกยาก อย่างเก่งแค่ย้าย” ของข้าราชการไทยยิ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ข้าราชการขี้เกียจมากขึ้น ลักษณะนิสัยที่เกียจคร้านของข้าราชการเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการอย่างแน่นอน ด้วยเหตุที่ข้าราชการเป็นกลไกและแขนขาที่สำคัญของรัฐบาลในการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลที่เน้นเรื่องการพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการ หลังจากรัฐบาลได้กำหนดนโยบายแล้ว ก็จะส่งต่อมายังข้าราชการกระทรวงต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามนโยบายนั้น แต่เมื่อข้าราชการเกียจคร้านก็เปรียบเสมือนแขนขาที่อยู่ในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคไร้ประสิทธิภาพ หรือไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เมื่อประชาชนมาทำงานร่วมกับข้าราชการบางคนที่ไม่ขยัน ไม่สนใจทำงาน ย่อมทำให้การพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการเป็นไปอย่าง “เต็มที” แทนที่จะเป็น “เต็มที่”

10. ถูกจำกัดความอัจฉริยะ
          ในการปฏิบัติงานพัฒนาประเทศ ความคิดริเริ่มเป็นสิ่งจำเป็นมาก ความคิดริเริ่มในทางที่ดีย่อมทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าข้าราชการไทยเป็นจำนวนมากขาดความคิดริเริ่มหรือความคิดริเริ่มสูญสิ้นเร็วเกินไป อีกทั้งระบบราชการไทยไม่สนับสนุนให้ข้าราชการมีความคิดริเริ่มซ้ำยังทำลายความคิดริเริ่มที่ติดมากับข้าราชการใหม่อีกด้วย
          ความคิดริเริ่มนั้นจะถูกต่อต้านด้วยเหตุผลต่าง ๆ นานา เช่น อ้างว่าผิดระเบียบ ทำผิดขั้นตอน ยุ่งยาก หรือแม้กระทั่งถ่วงเวลาหรือชะลอการนำมาใช้ออกไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ความคิดริเริ่มดังกล่าวจึงถูกทำลาย การปฏิบัติงานของข้าราชการยังคงล่าช้า และการทุจริตมีอยู่เช่นเดิม แท้ที่จริงแล้วหน่วยงานและข้าราชการสามารถแก้ไขความล่าช้าของการให้บริการประชาชนได้ แต่มีข้าราชการบางส่วนแกล้งทำเป็นไม่รู้วิธีแก้ไข เพราะมีเหตุผลดังกล่าวแฝงอยู่การขาดความคิดริเริ่มของข้าราชการ
          ข้าราชการที่ขาดความคิดริเริ่มเปรียบเหมือนกับข้าราชการผู้นั้นไม่มีอนาคต ไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่มองการณ์ไกล เป็นลักษณะของการย่ำเท้าอยู่กับที่ หรือเดินถอยหลัง ตรงกันข้าม ถ้าข้าราชการมีความคิดริเริ่มเปรียบเหมือนข้าราชการผู้นั้นได้คิดถึงอนาคต คิดถึงความก้าวหน้า มีวิสัยทัศน์ โดยคิดล่วงหน้าแล้วพยายามทำให้ได้ตามที่คิดไว้นั้น เข้าทำนอง "สานฝันให้เป็นจริง" หรือ "ฝันไว้ไกล ไปให้ถึง" อันเป็นลักษณะของการเดินก้าวไปข้างหน้าเมื่อนำข้าราชการที่ไม่มีความคิดริเริ่มซึ่งเปรียบเหมือนคนย่ำเท้าอยู่กับที่ มาเปรียบเทียบกับข้าราชการที่มีความคิดริเริ่มซึ่งเปรียบเหมือนคนเดินก้าวไปข้างหน้า ยิ่งทำให้เห็นได้ว่า ข้าราชการที่ไม่มีความคิดริเริ่มอยู่ในสภาพที่เดินถอยหลัง เพราะข้าราชการอีกคนหนึ่งที่มีความคิดริเริ่มนั้นได้ก้าวหน้าไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ความเจริญก้าวหน้าหรือการก้าวไปข้างหน้าไม่เพียงเกิดแก่ตัวข้าราชการเองเท่านั้น ยังส่งผลไปถึงประเทศชาติและประชาชนอีกด้วย เป็นต้นว่า ประชาชนได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการสาธารณะที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ประหยัด สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ตลอดจนโปร่งใสตรวจสอบได้ ทั้งหมดนี้ ล้วนเริ่มมาจากความคิดหรือความคิดริเริ่ม หรือบางครั้งอาจเป็น "ความคิดที่ออกนอกกรอบ" ทั้งสิ้น


http://www.sudpatapee.com/index.php/2014-08-15-15-18-27/item/184-10-4-0

05 สิงหาคม 2562

คอนเทนต์ คอนเทนต์ คอนเทนต์ ทุกบริษัทต้องทำคอนเทนต์!


คอนเทนต์ คอนเทนต์ คอนเทนต์ ทุกบริษัทต้องทำคอนเทนต์!
ผมเชื่อว่าคุณคงได้ยินคำคำนี้ผ่านหูมาไม่ต่ำกว่า 1 ครั้งแน่นอน หรือไม่คุณก็อาจจะกำลังทำ Content Marketing ให้กับบริษัทของคุณอยู่ก็เป็นได้
แต่สิ่งที่คุณได้ยินหรือได้ทำมานั้นมันเป็นสิ่งที่คุณกำลังเข้าใจผิดอยู่รึเปล่า?
ถ้าคุณอ่านบทความนี้จบ ผมรับรองว่าคุณจะเข้าใจการทำ Content Marketing และเอามันไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้มากขึ้นอย่างแน่นอน
Content Marketing เป็นส่วนหนึ่งของการทำ Inbound Marketing คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Inbound Marketing
เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจ
7 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ Content Marketing
ความเข้าใจผิดที่ 1: ทำคอนเทนต์เยอะๆ สิดี จะได้มีคนเห็นเยอะๆ
จริงอยู่ที่ปริมาณของคอนเทนต์นั้นมีความสำคัญ แต่ถ้าคอนเทนต์ที่คุณทำขึ้นมานั้นเป็นคอนเทนต์ธรรมดาๆ ที่ทุกคนเขาก็ทำกัน นอกจากที่คอนเทนต์ของคุณก็จะไม่ได้รับความสนใจ มันยังจะทำให้คุณเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลาในการทำคอนเทนต์ไปเปล่าๆ อีกด้วย
ปรับความเข้าใจ
วิธีที่ดีกว่าการเน้นการผลิตคอนเทนต์จำนวนมากๆ คือ การเน้นผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพแทน ว่าแต่ว่าคำว่าคุณภาพมันเป็นยังไงล่ะ?
บริษัทชั้นนำอย่าง Google นั้นได้เขียนคำจำกัดความของคำว่า “คอนเทนต์คุณภาพ” ไว้ได้อย่างน่าสนใจ
ว่าคอนเทนต์คุณภาพจะต้อง
1. Useful and Informative: มีประโยชน์ และให้ข้อมูล
2. More valuable and useful than other sites: แค่มีประโยชน์ไม่พอ แต่คอนเทนต์จะต้องมีประโยชน์มากกว่าแหล่งอื่นๆ ด้วย
3. Credible: คอนเทนต์จะต้องน่าเชื่อถือได้ ซึ่งคอนเทนต์ที่ดีควรจะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
4. High Quality: คอนเทนต์ของคุณควรที่จะไม่ซ้ำใคร มีความเฉพาะเจาะจง และลงรายละเอียด
5. Engaging: คอนเทนต์ของคุณต้องน่าเสพ ซึ่งก็คือคอนเทนต์ของคุณควรที่จะใส่รูป ใส่สีลงไปด้วย และภาษาก็ควรจะใช้ให้ถูก
กรณีศึกษาคอนเทนต์คุณภาพ
เว็บไซต์ที่สอนเรื่องเกี่ยวกับการทำ SEO อย่าง Backlinko ของ Brain Dean นั้นมีบทความอยู่ไม่ถึง 50 บทความ แต่เว็บไซต์ของเขานั้นมีคนเข้ามาอ่านเดือนละเป็นแสนๆ คน และแทบจะทุกบทความของเขามีคนแชร์บน Twitter และ Facebook มากกว่า 1,000 ครั้ง นอกจากนั้นแล้วมีคนมา comment ในบทความอีกมากมายด้วย
เขาทำได้ยังไง?
คำตอบคือคำว่า “คุณภาพ” ครับ

ความเข้าใจผิดที่ 2: ต้องทำคอนเทนต์ให้ Viral ให้คนเห็นเยอะๆ เดี๋ยวยอดมาเอง
คอนเทนต์ที่ดี ต้องให้ Viral ให้คนเห็นเป็นแสนเป็นล้าน ถ้าคนเห็นเยอะๆ เดี๋ยวยอดขายก็จะมาเอง
จริงๆ แล้วมันก็ “ไม่จริงเสมอไป” ครับ การทำคอนเทนต์ที่ทำให้คนเห็นได้เป็นจำนวนมากนั้น ถ้าทำได้มันก็ดี แต่การที่คนเห็นเยอะ ก็ไม่ได้การันตีเสมอไปว่าสุดท้ายแล้วยอดคนเห็นนั้นจะกลับไปตอบโจทย์ธุรกิจของคุณ

ถ้าตัวชี้วัดของคอนเทนต์ของคุณนั้นเป็นเพียงแค่ยอดคนเห็น คุณอาจจะประสบกับเหตุการณ์ที่เรียกว่า “ยอดวิวมากมาย แต่ยอดขายหายหมด” ได้

ปรับความเข้าใจ

ตัวชี้วัดของคอนเทนต์นั้นไม่ควรจะเป็นแค่จำนวนคนที่เห็นคอนเทนต์นั้นๆ (ยอด Reach) อย่างน้อยๆ ที่สุด ตัวชี้วัดควรจะเป็นจำนวนที่คนมาปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์ (ยอด Engagement เช่นพวกคอมเมนต์, แชร์ หรือการพูดถึงแบรนด์ในแง่บวก)

แต่ถ้าจะให้ดี สิ่งที่คุณควรจะวัดคือค่า Conversion เช่นวัดว่าหลังจากที่คนเสพคอนเทนต์นั้นๆ แล้ว คุณได้ลูกค้าที่มาจากคอนเทนต์นั้นๆ เท่าไหร่

ซึ่งการที่จะทำให้เกิด Conversion ได้นั้น สิ่งทีคุณต้องใส่เอาไว้ในคอนเทนต์ของคุณทุกคอนเทนต์ก็คือ “Call to action” หรือแปลเป็นไทยง่ายๆ ว่า “สิ่งที่คุณอยากจะให้คนเสพคอนเทนต์ของคุณทำต่อไป” ครับ

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นร้านค้าขายของออนไลน์ Call to action ก็อาจจะเป็น ปุ่มที่เชื้อเชิญให้ไปซื้อของบนเว็บไซต์ พร้อมรับคูปองส่วนลด

ถ้าคุณเป็นบริษัทที่ปรึกษา Call to action ก็อาจจะเป็นแบบฟอร์มติดต่อขอรับคำปรึกษา

หรือถ้าคุณเป็นบล็อกเกอร์ Call to action ก็อาจจะเป็นปุ่ม Add LINE เพื่อรับคอนเทนต์ดีๆ เพิ่มเติม

คุณไม่ควรจะปล่อยลูกค้าให้คาดเดาเองว่าเขาควรจะทำอะไรต่อไป คุณควรจะวางเส้นทางไว้ให้พวกเขาครับ

ความเข้าใจผิดที่ 3: คอนเทนต์มีไว้เพื่อขาย
ความเข้าใจผิดอันนี้เป็นความเข้าใจผิดที่ผมได้ยิน ได้เห็นมาบ่อยมาก ทุกคอนเทนต์จะต้องทำให้ขายของได้ ถ้าคอนเทนต์ไม่ช่วยให้ขายของได้ จะทำคอนเทนต์ไปทำไมล่ะ?

แน่นอนว่า “คอนเทนต์เพื่อขาย” อย่างหน้า Product, Pricing Page หรือ Get a Quote นั้นจำเป็นที่จะต้องมี เพราะไม่มีธุรกิจใดอยู่ได้ด้วยการไม่ขายเลย

แต่คุณต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่ทุกคนที่รู้จัก หรือเห็นธุรกิจของคุณจะพร้อมเป็นลูกค้า จะพร้อมถูกขายเสมอไป และโดยปกติแล้วถึงแม้คนเราจะชอบซื้อ แต่คนเรามักจะไม่ชอบที่จะถูกขายสักเท่าไหร่ ถ้าคุณมีแต่คอนเทนต์ ขาย ขาย ขาย และก็ขาย สุดท้ายแล้วคนก็จะเบื่อกับการ ขาย ขาย ขาย และก็ขาย ของคุณ และมันก็จะทำให้คุณขายไม่ได้อย่างที่คุณหวังไว้

ปรับความเข้าใจ

สิ่งที่คุณควรจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจคือ Buyer’s Journey ครับ

Buyer’s Journey นั้นแบ่งออกเป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ คือ Awareness, Consideration และ Decision

ในขั้น Decision นั้น ลูกค้าของคุณพร้อมที่จะซื้อของของคุณแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำนั้นก็คือการขาย พร้อมกับตอบข้อสงสัย หรือคำถามต่างๆ ที่ลูกค้ามีเกี่ยวกับสินค้าของคุณ

ส่วนในขั้น Consideration นั้น ลูกค้าของคุณกำลังพิจารณาทางเลือกของพวกเขาอยู่ ในขั้นนี้สิ่งที่คุณควรทำก็คือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าของคุณ รวมถึงทำให้ลูกค้าเชื่อว่าของของคุณดี

ในขั้น Awareness นั้น คือการทำให้ลูกค้ารู้จักคุณ รู้จักกับสินค้าของคุณ ซึ่งการทำ Awareness ที่ดีนั้นมันไม่ควรจะเป็นแค่การบอกให้ลูกค้ารู้ว่าคุณขายสินค้าอะไร แต่ควรจะเป็นการบอกว่าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้นำในเรื่องอะไร การทำ Awareness ที่ดีที่สุดนั้นไม่ได้เริ่มต้นจากการที่บอกลูกค้าว่าคุณขายอะไร แต่เป็นการบอก หรือสอนให้ลูกค้ารู้ถึงสิ่งที่พวกเขาสนใจอยากรู้ผ่านความเชี่ยวชาญของคุณ

ความเข้าใจผิดที่ 4: คอนเทนต์ที่ดีต้องตามกระแส
คอนเทนต์ที่ตามกระแสนั้นมีข้อดีคือมีความสดใหม่ และกำลังอยู่ในความสนใจของผู้คน แต่ว่าคอนเทนต์บางอย่างมันอาจจะไม่ได้อยู่ยั่งยืนยงในระยะยาว

คอนเทนต์บางคอนเทนต์นั้นสามารถดึงดูดความสนใจของคนได้เพียงแค่ 2-3 วัน หลังจากนั้นคอนเทนต์นั้นๆ ก็จะเสื่อมค่าลงตามกาลเวลาที่ผ่านไป

ปรับความเข้าใจ

คอนเทนต์ที่นำเทรนด์ ตามกระแสนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยเรียก Traffic ได้ดี ซึ่งคอนเทนต์แบบนี้จะถูกเรียกว่า Topical Content แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีคอนเทนต์อีกรูปแบบที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งคอนเทนต์รูปแบบนี้เรียกว่า Evengreen Content หรือคอนเทนต์ที่ไม่เสื่อมค่าตามกาลเวลา

เช่นถ้าคุณจะทำคอนเทนต์เกี่ยวกับฟุตบอล

ตัวอย่างของ Topical Content ก็จะเป็น “แมนยูชนะลิเวอร์พูลในศึกแห่งศักดิ์ศรีวันที่ 15 มกราคม 2561” (คอนเทนต์นี้จะได้รับความสนใจมากในวันที่ 15 มกราคม 2561 แต่พอเวลาผ่านไป 2-3 วัน คอนเทนต์นี้จะเสื่อมค่าลง)

ส่วนตัวอย่างของ Evergreen Content ก็จะเป็น “10 แมตช์แห่งความทรงจำที่ดีที่สุดระหว่างแมนยูและลิเวอร์พูล” (คอนเทนต์นี้ ต่อให้เวลาผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังคงมีคุณค่าอยู่ตราบใดที่คนยังสนใจแมนยู และลิเวอร์พูล)

คอนเทนต์ทั้ง 2 แบบมีข้อดี และข้อด้อยต่างกันไป การเลือกใช้มันให้ถูกช่วง ถูกเวลา จะทำให้คุณใช้ประโยชน์จากคอนเทนต์ของคุณได้มากที่สุดครับ

ความเข้าใจผิดที่ 5: คอนเทนต์คือราชา ทำดีๆ เดี๋ยวคนก็มาเอง
ทำคอนเทนต์ออกมาให้ดีๆ ให้เจ๋งๆ เดี๋ยวคนก็ ไลก์ คอมเมนต์ แชร์ กันถล่มทลายเอง!

ขอบอกว่าไม่จริงเสมอไปครับ

แน่นอนว่าถ้าคุณอยากให้คนเสพคอนเทนต์ของคุณ คอนเทนต์ของคุณต้องดี แต่แค่คอนเทนต์ดีอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ การที่คุณทำคอนเทนต์ออกมาได้ดีนั้นมันไม่ได้เป็นการการันตีเสมอไปว่าคนจะเห็นคอนเทนต์ของคุณ

ปรับความเข้าใจ

คอนเทนต์ที่ดี ต้องมาพร้อมกับการ “โปรโมต”
การโปรโมตคอนเทนต์ที่คุณทำขึ้นมานั้นสำคัญมากๆ นักการตลาดชื่อดังอย่าง Sujan Patel นั้นเคยบอกเอาไว้ว่าถ้าคุณใช้เวลาผลิตคอนเทนต์ของคุณ 1 ชั่วโมง คุณควรที่จะใช้เวลาโปรโมตมันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

วิธีการโปรโมตอย่างง่ายๆ ก็คือผ่าน Social Media ของคุณเอง หรือการส่งคอนเทนต์ของคุณไปให้กับ Influencer ต่างๆ หรือแม้แต่การซื้อโฆษณา Sujan Patel เองนั้นก็ได้เขียนวิธีการโปรโมตคอนเทนต์กว่า 100 วิธี มาให้ได้อ่านอีกด้วย ผมแนะนำให้คุณลองไปอ่านดูครับ น่าจะได้ไอเดียอะไรเพิ่มเติมหลายอย่างเลย

ความเข้าใจผิดที่ 6: การทำคอนเทนต์ = การทำ Content Marketing
หลายๆ คนเข้าใจว่าการทำคอนเทนต์อย่างเช่นการเขียนบทความ การอัดวีดีโอ หรือการทำรูปขึ้นมานั้นก็คือการทำ Content Marketing

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้ว่าการผลิตคอนเทนต์นั้นจะเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ แต่มันก็ยังเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการทำ Content Marketing เท่านั้นเอง

ปรับความเข้าใจ

การทำ Content Marketing นั้นยังมีองค์ประกอบอีกมากมายตั้งแต่การวางแผน การตั้งเป้าหมาย การสร้าง Buyer Persona การสร้าง Buyer’s Journey ไปจนถึงการลงมือทำเพื่อให้ได้ตามแผน และเป้าหมายที่วางไว้

ความเข้าใจผิดที่ 7: คอนเทนต์ดีๆ ให้ผลทันตาเห็น
เริ่มทำคอนเทนต์วันนี้ พรุ่งนี้ยอดขายพุ่งพรวด… การทำคอนเทนต์ไม่ใช่การเสกเวทมนตร์นะครับ ที่จะให้ผลลัพธ์ภายในทันที ทันใด

ถ้าคุณหวังผลในเชิงผลตอบแทนที่เป็นรูปแบบของตัวเงินจากการทำคอนเทนต์ตั้งแต่วันแรกๆ หรือเดือนแรกๆ แสดงว่าคุณกำลังใช้วิธีคิดแบบการซื้อโฆษณาที่เห็นผลแบบทันทีมาวัดผลของการทำคอนเทนต์อยู่

การทำ Content Marketing เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ ที่คุณต้องค่อยๆ หว่านเมล็ด รดน้ำ พรวดดิน ใส่ปุ๋ย แล้วรอวันที่มันเติบใหญ่ ถ้าคุณคาดหวังว่าจะเห็นต้นไม้ต้นใหญ่ที่ออกดอก ออกผลให้คุณตั้งแต่วันแรกๆ คุณอาจจะกำลังเข้าใจประโยชน์ของการทำคอนเทนต์ผิดไปครับ

ปรับความเข้าใจ

การทำคอนเทนต์เพื่อหวังผลลัพธ์ในเชิงธุรกิจต้องใช้เวลา

ถ้าคุณตั้งใจว่าจะใช้คอนเทนต์เป็นศูนย์กลางของการทำการตลาดและคุณวางแผนได้ดี และสามารถทำได้ตามแผนที่วางไว้ คุณจะเริ่มเห็นผลจากการทำคอนเทนต์ภายใน 3-4 เดือน (ทั้งจากการถูกแชร์ผ่าน Social Media และการถูกค้นเจอจาก Search Engine) แต่ถ้าคุณต้องการให้เห็นผลแบบเห็นได้ชัด คุณอาจจะต้องใช้เวลาเป็นหลักปี เพราะนอกจากที่คุณจะต้องสร้าง Traffic (คนเข้ามาเสพคอนเทนต์ของคุณ) และ Leads (คนที่อาจจะกลายมาเป็นลูกค้าของคุณ) แล้ว สิ่งที่คุณต้องสร้างก็คือ Authority หรือการที่คนยอมรับว่าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ

ซึ่งข้อดีของการใช้คอนเทนต์เป็นศูนย์กลางของการตลาดก็คือ Traffic ที่เข้ามาหาคุณนั้นจะมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (เมื่อติดหน้าแรกของ Search Engine) ซึ่งก็จะส่งผลให้ยอดขายของคุณเพิ่มตามเช่นกัน และในระยะยาว Traffic และยอดขายของคุณนั้นจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่คุณลงไปครับ

ที่มา


https://magnetolabs.com/blog/content-marketing-misunderstanding/