26 กันยายน 2562

#ผักกระสัง ☘️🌱


บ้านเรานึกว่าเป็นหญ้า​ ถอนทิ้งขว้าง
#ผักกระสัง ☘️🌱
(รักษาโรคเริม ตามัว ตาต้อ รักษาสิวฝ้า ปวดข้อ ข้ออักเสบ มะเร็งเต้านม)
ผักที่เกิดขึ้นเองไม่ต้องปลูก มักเกิดขึ้นในกระถางดอกไม้บ้าง หรือในที่ชื้นๆ บางทีเราไม่รู้ก็ตัดทิ้งไป
.............................................
คราวนี้ต้องเปลี่ยนมารักษาไว้แล้วละครับ เป็นผักก็ได้ กินอร่อย มีกลิ่นหอมเย็น เข้ากับน้ำพริกได้ทุกชนิด
เห็นใบเช่นนี้ต่อไปอย่างเพิ่งตัดทิ้งนะครับ................รองศึกษาข้อมูลสุขภาพร่วมกันว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ชื่ออื่น ผักกระสัง (อำนาจเจริญ)ชากรูด (ภาคใต้) ตาฉี่โพ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักกระสัง (ภาคกลาง) ผักกูด (เพชรบุรี) ผักราชวงศ์ (แม่ฮ่องสอน) ผักสังเขา (สุราษฎร์ธานี) ผักฮากกล้วย (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peperomia pellucida Korth
วงศ์ PEPEROMIAEAE
ชื่อสามัญ Peperomia
...............................................
สรรพคุณทางยา
ผักกระสัง หมอยาพื้นบ้านมักจะใช้ผักกระสังตำพอกฝี หรือคั้นเอาน้ำทาแผลฝีที่มีหนอง ผักกระสังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ใบยังนำมารักษาโรคลักปิดลักเปิด แก้ไข้ แก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ และยังเชื่อว่าการใช้น้ำต้มผักกระสังล้างหน้าจะทำให้ผิวสวย ปัจจุบันมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าผักกระสังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์ต้านการอักเสบมีฤทธิ์แก้ปวด และไม่มีพิษภัย
................................................
ที่ประเทศฟิลิปปินส์ก็มีการกินผักกระสังสดๆ หรือนำมาต้มกิน เพื่อรักษาโรคเก๊าต์และข้ออักเสบ โดยวิธีการต้มให้นำผักกระสังประมาณ๑ กำมือ ต้มกับน้ำ ท่วมยา ให้เหลือประมาณ ๑ แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละ ครึ่งแก้ว เช้า-เย็น นอกจากนี้ชาวฟิลิปปินส์ยังใช้ทั้งต้นสดบดประคบฝี หรือตุ่มหนอง
..............................................
ส่วนในมาเลเซียเชื่อว่าการรับประทานผักกระสังจะช่วยรักษาโรคตาและต้อ (glaucoma) การศึกษาวิจัยในปัจจุบันยังพบว่าผักกระสังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและมี วิตามินซีสูง เรียกได้ว่าวิตามินซีน้องๆ มะนาว คือ มะนาว ๑๐๐ กรัมมีวิตามินซี ๒๐ มิลลิกรัม ส่วนผักกระสังมีอยู่ ๑๘ มิลลิกรัม ในบ้านเราสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยวิเคราะห์หาธาตุอาหารในพืชผักต่างๆ พบว่าผักกระสัง ๑ ขีด หรือ ๑๐๐ กรัม มีเบต้า – แคโรทีนราว ๒๘๕ ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล
................................................
เนื่องจากในผักกระสัง มีสรรพคุณทางยาในการรักษาเริมและมะเร็งเต้านม ความรู้นี้ไม่ค่อยแพร่หลายนักแต่แมะ (มือลอ มะแซ) ที่บ้านกำปงบือแน ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลาบอกว่า ผักกระสังเป็นยารักษาเริม มะเร็งเต้านม และฝี ในการรักษาเริมนั้นจะนำต้นผักกระสังผสมกับขมิ้นและข้าวสาร (ฮูยงงูกุมาตอกูยิ) ตำให้ละเอียดแล้วพอกทิ้งไว้ ๑ คืน และนำใบมาตำขยำแปะทาเม็ดที่เป็นใต้ราวนม แก้มะเร็งเต้านม ข้อมูลที่ว่าผักกระสังใช้รักษามะเร็งนี้ไม่เคยรู้มาก่อนเลยและเป็นที่น่าทึ่งตรงที่ว่ามีรายงานการศึกษาพบว่า สารในผักกระสังมีฤทธิ์ต้านมะเร็งด้วย นอกเหนือไปจากการแก้อักเสบและแก้ปวด
..........................................
คุณสารีป๊ะ อาแวกือจิ ที่บ้านกำปงบือแน ตำบลจะกวั๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีประสบการณ์การใช้ผักกระสังบอกว่า ผักกระสังเป็นยาสระผมทำให้ผมนุ่มโดยนำใบขยำกับน้ำชโลมศีรษะให้ศีรษะเย็น ป้องกันผมร่วง ทำให้ผมนุ่ม เพราะในผักกระสังมีธาตุอาหาร มีความเป็นกรดอ่อนๆ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย
.................................................
ผักกะสังเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้เป็นยามายาวนาน ในโบลิเวียมีบันทึกที่มีอายุนับพันปีชื่อ Altenos Indians document กล่าวไว้ว่า ผักกระสังทั้งต้นบดผสมน้ำใช้กินเพื่อห้ามเลือด ใช้ส่วนรากต้มกินรักษาไข้ ใช้ส่วนเหนือดินโปะแผล นอกจากนี้ ในประเทศอื่นๆ ที่มีผักกระสังขึ้นอยู่จะใช้ผักกระสังในการรักษาอาการปวดท้องทั้งแบบธรรมดาและปวดเกร็ง ฝี สิว แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก อ่อนเพลีย ปวดหัว ระบบประสาทแปรปรวน หัด อีสุกอีใส มีแก๊สในกระเพาะ ปวดข้อรูมาติก และยังมีการใช้เฉพาะบางท้องถิ่น
.....................................................
ในประเทศบราซิลก็ใช้ในการลดคอเลสเตอรอล ในกียานา (Guyana) ใช้ในการขับปัสสาวะ ลดไข่ขาวในปัสสาวะ ในแถบอเมซอนใช้ขับปัสสาวะ หล่อลื่น หัวใจเต้นผิดปกติ ส่วนในมาเลเซียเชื่อว่าการรับประทานผักกระสังจะช่วยรักษาโรคตาและต้อ (glaucoma) ปัจจุบันมีสารสกัดจากผักกระสังจำหน่ายในต่างประเทศ
.................................................
สำหรับบ้านเรา อาจารย์วีระ หลวงวัง จากจังหวัดตาก ได้แนะนำให้คุณสุพร เผือกคล้าย บ้านทุ่งใหม่สหกรณ์ ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ นำกระสังมาต้มกินรักษาโรคตา ซึ่งป่วยเป็นโรคตาเป็นต้อมองเห็นไม่ชัดเจน ผลปรากฏว่าเมื่อรับประทานแล้ว ได้ผลเป็นเป็นที่น่าพอใจอาการดีขึ้นเรื่อย
.....................................................
ส่วนหนึ่งข้อมูลสุขภาพ มาจาก สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย
.....................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น