12 พฤษภาคม 2565

วิธีปรับอาหารลดเสี่ยง "อ้วน-หลอดเลือดสมอง-เบาหวาน-ความดัน"

 

วิธีปรับอาหารลดเสี่ยง "อ้วน-หลอดเลือดสมอง-เบาหวาน-ความดัน"


ปรับอาหารที่กินแค่ไม่กี่อย่าง ก็ช่วยลดเสี่ยงโรคอันตรายยอดนิยมอย่าง หลอดเลือดสมอง-เบาหวาน-ความดัน และอื่นๆ ได้อีกเพียบ

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีสาเหตุจากการตีบ อุดตัน หรือแตกของหลอดเลือดสมอง ทำให้เซลล์สมองขาดเลือด และสูญเสียการทำงาน จนส่งผลให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด และมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำ พญ.อนงนุช ชวลิตธำรง แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ง่าย ได้แก่

  • โรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน
  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง

แนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง คือ

  1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยให้มีดัชนีมวลกาย 18.5 – 22.9 kg/m2

คำนวณโดย

  • ดัชนีมวลกาย =
  1. รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค โดยปฏิบัติดังนี้
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่หวานจัด ควรบริโภคน้ำตาล ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม เบเกอรี่ ขนมไทย
    • หลีกเลี่ยงอาหารมันจัด ควรบริโภคน้ำมัน ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและไม่ติดหนัง เช่น เนื้อปลา เนื้อหมูไม่ติดมัน เนื้อเป็ดหรือไก่ไม่ติดหนัง และหลีกเลี่ยงอาหารทอด
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่เค็มจัด ควรบริโภคเกลือ ไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ ไม่เกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งมาก อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง และอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็งทุกชนิด
    • เน้นการรับประทานอาหารแบบ DASH Diet โดยเน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว และเลือกรับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ เนื่องจาก Dash Diet มีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตสูง จากงานวิจัย พบว่า Dash Diet สามารถลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจได้
    • เน้นการรับประทานแบบ Mediterranean Diet โดยเน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืช รวมถึงเนื้อปลา และเลือกรับประทานไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก ลดการบริโภคเนื้อแดง และเนื้อที่ผ่านการแปรรูป เนื่องจากโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดค่าไขมันไตรกลีเซอไรด์ และช่วยป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดนอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว การออกกำลังกาย งดการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองด้วย 

นอกจากการปรับพฤติกรรมแล้ว การออกกำลังกาย งดการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น